การที่เราจะข้ามถนนให้ปลอดภัย จะต้องข้ามกันตรงที่ "ทางข้าม" ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ บัญญัติว่า "ทางข้าม" หมายความว่า "พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามทาง โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนว หรือตอกหมุดไว้บนทาง และให้หมายความรวมถึง พื้นที่ที่ทำให้คนเดินเท้าข้ามไม่ว่าในระดับใต้หรือเหนือพื้นดินด้วย" ได้แก่ ทางม้าลาย และ สะพานลอย เป็นต้น
เหตุที่ข้ามตรงทางข้ามแล้วปลอดภัย เพราะกฎหมายบัญญัติไว้หลายประการ เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้ใช้ความระมัดระวังคนเดินเท้าข้ามถนนเป็นพิเศษ เช่น "เมื่อเห็นสัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยว หรือชี้ให้ตรงไป หรือสัญญาณไฟจราจรสีแดงแสดงพร้อมกับสัญญาณจราจรไฟลูกศรสีเขียวชี้ให้เลี้ยว หรือชี้ให้ตรงไป ให้ผู้ขับขี่เลี้ยวรถหรือขับตรงไปได้ตามทิศทางที่ลูกศรชี้ และต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง และต้องให้สิทธิแก่คนเดินเท้าในทางข้าม หรือรถที่มาทางขวาก่อน" และ "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีดังต่อไปนี้.....ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ" และ "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่จอดรถ.....ในทางข้าม หรือ ในระยะสามสิบเมตรจากทางข้าม" และ "ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก ทางข้าม เส้นให้รถหยุด หรือวงเวียน ต้องรถความเร็วรถ" ฯลฯ
เห็นได้ว่า "ทางข้าม" จะต้องไม่มีสิ่งใดมากีดขวาง เพื่อให้คนเดินข้ามถนนโดยปลอดภัย และผู้ขับรถต้องระมัดระวังและลดความเร็วรถเมื่อเห็นทางข้าม แต่ถ้าคนเดินเท้าไม่ข้ามถนนตรงทางข้ามตามกฎหมาย แต่เป็นทางข้ามที่เดินกันเอาเองและคิดเองว่าเป็นทางข้าม ย่อมถือว่า ผู้นั้นเข้าไปเสี่ยงภัยเอง การที่จะได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายหรือได้รับการเยียวยาเรื่องค่าเสียหายก็ย่อมไม่เต็มที่ แตกต่างจากถูกรถชนในทางข้ามอย่างแน่นอน
อีกทั้ง คนเดินเท้าไม่ข้ามถนนตรงทางข้าม อาจจะเป็นผู้กระทำผิด ตามมาตรา ๑๐๔ ที่บัญญัติว่า "ภายในระยะไม่เกินหนึ่งเมตร นับจากทางข้าม ห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามทางนอกทางข้าม" ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา ๑๔๗ ระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท ถ้ามีเจ้าหน้าที่จราจรพบเห็นผู้ใดเดินข้ามถนน ลอดแผงกั้นกลางถนน ทั้งที่มีสะพานลอยอยู่ใกล้ ๆ ก็ต้องถูกจับและเสียค่าปรับเป็นแน่แท้
อย่างไรก็ตาม กฎหมายไทย ยังคงคุ้มครองคนเดินเท้า มากกว่า ผู้ขับรถมาชนคนเดินเท้า โดย มาตรา ๓๒ บัญญัติว่า "ในการใช้ทางเดินรถ ผู้ขับขี่ต้องระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือโดนคนเดินเท้า ไม่ว่าจะอยู่ ณ ส่วนใดของทาง และต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวเมื่อจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชรา หรือคนพิการที่กำลังใช้ทาง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ในการควบคุมรถของตน"
สรุปได้ว่า เมื่อผู้ขับรถชนคนเดินข้ามถนนนอกทางข้าม ฝ่ายที่ได้รับความคุ้มครองคือ คนเดินเท้า แต่กฎหมายก็ได้โอนอ่อนให้ฝ่ายผู้ขับขี่ในเรื่องการให้ประกันตัว โดยบัญญัติว่า "ในกรณีผู้ขับขี่ได้ขับรถชนหรือโดนคนเดินเท้า ที่ข้ามนอกทางข้าม และอยู่ในระหว่างทางข้ามกับเครื่องหมายจราจรแสดงเขตทางข้าม หรือที่ข้ามทางนอกทางข้าม โดยลอด ข้าม หรือผ่านสิ่งปิดกั้น หรือแผงปิดกั้น ที่เจ้าหน้าที่จราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่นำมาวางหรือตั้งอยู่บนทางเท้าหรือกลางถนน เมื่อพนักงานสอบสวนมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ขับขี่ซึ่งเป็นผู้ต้องหาได้ใช้ความระมัดระวังตามความในมาตรา ๓๒ แล้ว ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจปล่อยตัวผู้ต้องหาไปชั่วคราวโดยไม่มีประกันได้ เมื่อผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องร้องขอ" ส่วนจะผิดหรือถูก ก็ไปว่ากันในชั้นพิจารณาของศาล ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ
สุดท้ายนี้ จึงแนะนำว่า การข้ามถนนที่มิใช่ทางข้ามเป็นการเสี่ยงต่อภยันตรายในชีวิตและร่างกายของตัวเราเอง และมีผลกระทบโดยตรงต่อความเศร้าโศกเสียใจของคนในครอบครัวที่รออยู่ทางบ้าน ส่วนผู้ขับรถชนก็ตกเป็นผู้ต้องหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะไม่ได้เจตนาก็ตาม ชิ้นส่วนของรถซ่อมได้ง่าย และชีวิต แขนขา และสมองของผู้ถูกรถชนนั้นซ่อมยาก
✩ กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง คำพิพากษาและความรู้เรื่องการจราจรทางบก ✩ความถูกต้องเป็นไปตามวันที่เขียนบทความและอัพเดท✩
วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556
การแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด
ปัญหาจราจรติดขัด เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในตัวเมืองที่มีประชาการอยู่กันอย่างหนาแน่น และมีการใช้รถ ใช้ถนน กันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสาเหตุเกิดจากการขยายจำนวนประชากรและที่อยู่อาศัยขึ้นอยู่อย่างรวดเร็ว และทุกคนได้ใช้รถเป็นยานพาหนะในการเดินทาง และการขนส่ง เพื่อความสะดวกสบายและความคล่องตัว ในปัจจุบันมีรถยนต์เพิ่มขึ้นบนท้องถนนจำนวนมาก ทำให้ไม่สมดุลกับถนนที่มีอยู่อย่างจำกัดและนับวันดูเหมือนจะคับแคบลง เพราะทุกคนเริ่มใช้ถนนเป็นที่ดำเนินกิจกรรมทำมาหาเลี้ยงชีพกันมากขึ้น การแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดสามารถแก้ไขโดยหลักใหญ่ ๒ ประการ คือ เพิ่มพื้นที่ถนน และ ลดปริมาณรถบนถนนลง ซึ่งสามารถอธิบายหลักและวิธีดำเนินการอย่างง่ายและเหมาะสมกับประเทศไทย ดังนี้
๑. เพิ่มพื้นที่ถนน หมายถึง การทำให้ถนนโล่ง ว่าง หรือมีพื้นที่มากพอที่จะทำให้รถวิ่งบนท้องถนนได้สะดวก ไม่ติดขัด กล่าวคือ
- การจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร หรืออาสาจราจร ประจำจุดที่มีการจราจรติดขัด เพื่ออำนวยความสะดวก และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อมีรถมาอยู่รวมกันจำนวนมากหากเกิดการจราจรติดขัดขึ้น เจ้าหน้าที่ก็สามารถหาวิธีการ และให้สัญญาณ ในการเดินรถแก่ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ให้เกิดความคล่องตัวขึ้นได้อย่างทันท่วงที
- การกำหนดเขตห้ามหยุดและจอดรถ (เส้นขาว-แดง) ห้ามหยุดจอดชั่วขณะรับส่งคนโดยสารหรือส่งของได้(เส้นขาว-เหลือง) ให้เห็นชัดเจน และสามารถบังคับใช้ได้ทันที เมื่อมีผู้ฝ่าฝืนจอดรถในเขตดังกล่าว เช่น การออกใบสั่ง และการใช้รถยกเคลื่อนย้ายรถที่จอดกีดขวางดังกล่าวออกไปเก็บรักษา
- การติดตั้งป้ายสัญญาณจราจร และป้ายแนะนำเส้นทางต่าง ๆ ผู้ใช้รถ ใช้ถนน สามารถเห็นได้ชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย ทำให้สะดวกในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางอย่างไม่ติดขัด
- การกวดขันวินัยการจราจรให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎหมาย การหยุดและจอดรถ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ไม่จอดรถในที่ห้ามจอด ไม่จอดรถซ้อนคัน ไม่จอดรถหรือขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร เป็นต้น
- ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะอุบัติเหตุเป็นปัญหาหนึ่ง ที่ทำให้การจราจรติดขัด สาเหตุของอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การเมาสุรา ยาเสพติด การขับรถโดยปราศจากความระมัดระวัง ละเมิดสิทธิการใช้เส้นทางเดินรถของผู้อื่น การฝ่าฝืนกฎหมายจราจร หรือมีเหตุปัจจัยอย่างอื่นที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น เช่น ความเร่งรีบในการเดินทาง การขับรถไม่มีน้ำใจ สภาพผิวถนน หรือแสงสว่างในเวลากลางคืน เป็นต้น ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ตรวจวัดแอลกอฮอล์ และยาเสพติด การสำรวจเส้นทางเพื่อแก้ไขจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดเหตุเป็นประจำ ด้วยการติดตั้งป้ายเตือนในทางโค้งต่าง ๆ การติดตั้งโคมไฟฟ้าให้แสงสว่างแก่เส้นทาง การจัดหาที่พักรถ สะดวก ปลอดภัย แก่ผู้ขับรถในระยะทางไกลที่พักผ่อนไม่เพียงพอ แต่ถ้าหากไม่สามารถป้องกันอุบัติเหตุได้ และเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว เจ้าหน้าที่กู้ภัยหรือกู้ชีพต้องสามารถมาช่วยเหลือผู้บาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องสามารถทำเครื่องหมายและแยกรถที่กีดขวางออกจากทางได้อย่างรวดเร็ว พนักงานสอบสวนต้องมาถึงที่เกิดเหตุโดยเร็วเพื่อทำการตรวจสถานที่เกิดเหตุ รวบรวมพยานหลักฐานและถ่ายภาพ และสั่งการเคลื่อนย้ายรถมาตรวจสภาพและนำรถเก็บรักษา หรือสั่งให้คู่กรณีไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ เป็นต้น
- การงดกิจกรรมการรวมกลุ่มบนท้องถนน เช่น การเดินขบวนปิดถนน เป็นต้น
- การปรับพื้นผิวถนนให้สามารถใช้การได้ หากถนนเป็นหลุม บ่อ หรือขรุขระ จะทำให้ผู้ขับขี่หลบเลี่ยง หรือเบรคกระทันหัน เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่น และบางแห่งก็ทำให้เสียการใช้ช่องทางการจราจรนั้นไปอีกหนึ่งช่องทางด้วย
๑. เพิ่มพื้นที่ถนน หมายถึง การทำให้ถนนโล่ง ว่าง หรือมีพื้นที่มากพอที่จะทำให้รถวิ่งบนท้องถนนได้สะดวก ไม่ติดขัด กล่าวคือ
- การจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร หรืออาสาจราจร ประจำจุดที่มีการจราจรติดขัด เพื่ออำนวยความสะดวก และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อมีรถมาอยู่รวมกันจำนวนมากหากเกิดการจราจรติดขัดขึ้น เจ้าหน้าที่ก็สามารถหาวิธีการ และให้สัญญาณ ในการเดินรถแก่ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ให้เกิดความคล่องตัวขึ้นได้อย่างทันท่วงที
- การกำหนดเขตห้ามหยุดและจอดรถ (เส้นขาว-แดง) ห้ามหยุดจอดชั่วขณะรับส่งคนโดยสารหรือส่งของได้(เส้นขาว-เหลือง) ให้เห็นชัดเจน และสามารถบังคับใช้ได้ทันที เมื่อมีผู้ฝ่าฝืนจอดรถในเขตดังกล่าว เช่น การออกใบสั่ง และการใช้รถยกเคลื่อนย้ายรถที่จอดกีดขวางดังกล่าวออกไปเก็บรักษา
- การติดตั้งป้ายสัญญาณจราจร และป้ายแนะนำเส้นทางต่าง ๆ ผู้ใช้รถ ใช้ถนน สามารถเห็นได้ชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย ทำให้สะดวกในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางอย่างไม่ติดขัด
- การกวดขันวินัยการจราจรให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎหมาย การหยุดและจอดรถ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ไม่จอดรถในที่ห้ามจอด ไม่จอดรถซ้อนคัน ไม่จอดรถหรือขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร เป็นต้น
- ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เพราะอุบัติเหตุเป็นปัญหาหนึ่ง ที่ทำให้การจราจรติดขัด สาเหตุของอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การเมาสุรา ยาเสพติด การขับรถโดยปราศจากความระมัดระวัง ละเมิดสิทธิการใช้เส้นทางเดินรถของผู้อื่น การฝ่าฝืนกฎหมายจราจร หรือมีเหตุปัจจัยอย่างอื่นที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น เช่น ความเร่งรีบในการเดินทาง การขับรถไม่มีน้ำใจ สภาพผิวถนน หรือแสงสว่างในเวลากลางคืน เป็นต้น ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ตรวจวัดแอลกอฮอล์ และยาเสพติด การสำรวจเส้นทางเพื่อแก้ไขจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดเหตุเป็นประจำ ด้วยการติดตั้งป้ายเตือนในทางโค้งต่าง ๆ การติดตั้งโคมไฟฟ้าให้แสงสว่างแก่เส้นทาง การจัดหาที่พักรถ สะดวก ปลอดภัย แก่ผู้ขับรถในระยะทางไกลที่พักผ่อนไม่เพียงพอ แต่ถ้าหากไม่สามารถป้องกันอุบัติเหตุได้ และเมื่อเกิดเหตุขึ้นแล้ว เจ้าหน้าที่กู้ภัยหรือกู้ชีพต้องสามารถมาช่วยเหลือผู้บาดเจ็บนำส่งโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องสามารถทำเครื่องหมายและแยกรถที่กีดขวางออกจากทางได้อย่างรวดเร็ว พนักงานสอบสวนต้องมาถึงที่เกิดเหตุโดยเร็วเพื่อทำการตรวจสถานที่เกิดเหตุ รวบรวมพยานหลักฐานและถ่ายภาพ และสั่งการเคลื่อนย้ายรถมาตรวจสภาพและนำรถเก็บรักษา หรือสั่งให้คู่กรณีไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ เป็นต้น
- การงดกิจกรรมการรวมกลุ่มบนท้องถนน เช่น การเดินขบวนปิดถนน เป็นต้น
- การปรับพื้นผิวถนนให้สามารถใช้การได้ หากถนนเป็นหลุม บ่อ หรือขรุขระ จะทำให้ผู้ขับขี่หลบเลี่ยง หรือเบรคกระทันหัน เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่น และบางแห่งก็ทำให้เสียการใช้ช่องทางการจราจรนั้นไปอีกหนึ่งช่องทางด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)