ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป ผู้ขับรถบรรทุกพ่วง สามารถแซงหรือขับในทางเดินรถด้านขวา ได้หรือไม่
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ลักษณะ ๓ การใช้ทางเดินรถ หมวด ๑ การขับรถ
"มาตรา ๓๔ ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุดหรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทาง เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาของทางเดินรถได้
(๑) ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
(๒) ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
(๓) จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมทางแยก
(๔) เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
(๕) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย"
"มาตรา ๓๕ รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้
ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปหรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี
ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์"
การแซงต้องแซงด้านขวาโดยมีระยะห่างจากรถที่ถูกแซงพอสมควรเมื่อเห็นว่าได้ขับผ่านขึ้นหน้ารถที่ถูกแซงไปในระยะที่ห่างเพียงพอแล้วจึงจะขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถได้"
*ข้อพิจารณา.- เห็นได้ว่า กฎหมายได้กำหนดวิธีการขับรถในทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป โดยให้ผู้ขับขี่รถไม่ว่าเป็นรถประเภทใดก็ต้องขับรถในช่องทางซ้ายสุด(หรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทางถ้าหากมีช่องทางเดินรถประจำทางอยู่ทางซ้ายสุด)เท่านั้น เว้นแต่ กรณีช่องทางนั้นถูกปิดหรือมีสิ่งกีดขวาง(ผิวถนนขรุขระเล็กน้อยไม่น่าจะใช่สิ่งกีดขวาง) หรือกรณีทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว หรือกรณีต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก หรือกรณีเมื่อแซงรถหรือขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถอื่นที่อยู่ช่องเดินรถด้านซ้ายนั้น ผู้ขับขี่จึงจะมีสิทธิขับรถในช่องทางเดินรถด้านขวาได้ นอกจากนี้ ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร หรือรถจักรยานยนต์ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุด หรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทาง แล้วแต่กรณี โดยรถบรรทุก(ที่ไม่ใช่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมและรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน) นั้น เห็นว่ารถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร และรถจักรยานยนต์ เป็นรถที่มีความเร็วต่ำหรือต้องใช้ความระมัดระวังในการขับขี่มากกว่ารถยนต์ชนิดอื่น จึงกำหนดให้ขับเฉพาะช่องทางด้านซ้ายสุดอยู่เสมอ ทั้งนี้ กฎหมายไม่ได้ห้ามไม่ให้รถบรรทุกดังกล่าวแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น หากแต่ว่าเมื่อแซงไปในระยะที่ห่างเพียงพอแล้วก็ให้ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถตามเดิม พิเคราะห์ได้ว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้ผู้ขับขี่ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการเดินรถและไม่เป็นการกีดขวางรถคันอื่นที่จะแซงขึ้นหน้า จึงกำหนดให้ผู้ขับขี่รถทุกชนิดต้องขับรถในช่องทางด้านซ้ายสุดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะขับรถด้วยความเร็วสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม ผู้ขับขี่ก็ไม่สามารถขับรถในทางเดินรถด้านขวาสุดได้ แม้ว่าทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปก็ตาม เว้นแต่มีรถที่ช้ากว่าจึงจะแซงรถที่ช้ากว่าได้ แต่เมื่อแซงขึ้นหน้าได้แล้วก็ต้องขับชิดเข้ามาในช่องทางเดินรถซ้ายสุดตามเดิม ส่วนรถบรรทุกที่มีขนาดใหญ่และใช้ความเร็วได้ต่ำกว่ารถอื่น ก็ต้องขับในช่องทางซ้ายสุดอยู่เสมอ ไม่ได้ห้ามไม่ให้แซง แต่ถ้ารถบรรทุกขนาดใหญ่แซงรถอื่นในระยะห่างที่เพียงพอแล้ว ก็ต้องรีบกลับเข้าช่องทางเดินรถด้านซ้ายสุดทันที เพื่อให้รถยนต์อื่นที่ตามหลังมาและความเร็วสูงกว่ามีโอกาสได้แซงรถบรรทุกนั้นด้วย เพราะถ้าหากรถบรรทุกขับอยู่แต่ในช่องทางเดินรถด้านขวานาน ๆ ถึงแม้ว่าผู้ขับขี่จะอ้างว่ากำลังแซงรถที่มีความเร็วต่ำกว่าที่อยู่ในทางเดินรถด้านซ้ายสุดก็ตาม แต่การขับอยู่ในทางเดินรถด้านขวาตลอดเวลาก็อาจจะเป็นการกีดขวางความสะดวกรวดเร็วของรถยนต์คันอื่นที่ตามหลังมาจนไม่สามารถแซงขึ้นหน้ารถบรรทุกนั้นได้เช่นเดียวกัน
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ ลักษณะ ๓ การใช้ทางเดินรถ หมวด ๑ การขับรถ
"มาตรา ๓๔ ในการใช้ทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป หรือที่ได้จัดช่องเดินรถประจำทางไว้ในช่องเดินรถซ้ายสุด ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุดหรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทาง เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ ให้เดินทางขวาของทางเดินรถได้
(๑) ในช่องเดินรถนั้นมีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร
(๒) ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจรกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว
(๓) จะต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าบริเวณใกล้ทางร่วมทางแยก
(๔) เมื่อจะแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น
(๕) เมื่อผู้ขับขี่ขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถในช่องเดินรถด้านซ้าย"
"มาตรา ๓๕ รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้
ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปหรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทางแล้วแต่กรณี
ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์"
หมวด ๒ การขับแซงและผ่านขึ้นหน้า
"มาตรา ๔๔ ผู้ขับขี่ซึ่งประสงค์จะขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในทางเดินรถ ซึ่งไม่ได้แบ่งช่องทางเดินรถไว้ ต้องให้สัญญาณโดยกระพริบไฟหน้าหลายครั้ง หรือให้ไฟสัญญาณยกเลี้ยวขวา หรือให้เสียงสัญญาณดังพอที่จะให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันหน้าให้สัญญาณตอบตามมาตรา ๓๗ (๓) หรือมาตรา ๓๘ (๓) และเมื่อเห็นว่าไม่เป็นการกีดขวางรถอื่นที่กำลังแซงแล้ว จึงจะแซงขึ้นหน้าได้การแซงต้องแซงด้านขวาโดยมีระยะห่างจากรถที่ถูกแซงพอสมควรเมื่อเห็นว่าได้ขับผ่านขึ้นหน้ารถที่ถูกแซงไปในระยะที่ห่างเพียงพอแล้วจึงจะขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถได้"
*ข้อพิจารณา.- เห็นได้ว่า กฎหมายได้กำหนดวิธีการขับรถในทางเดินรถที่ได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป โดยให้ผู้ขับขี่รถไม่ว่าเป็นรถประเภทใดก็ต้องขับรถในช่องทางซ้ายสุด(หรือใกล้กับช่องเดินรถประจำทางถ้าหากมีช่องทางเดินรถประจำทางอยู่ทางซ้ายสุด)เท่านั้น เว้นแต่ กรณีช่องทางนั้นถูกปิดหรือมีสิ่งกีดขวาง(ผิวถนนขรุขระเล็กน้อยไม่น่าจะใช่สิ่งกีดขวาง) หรือกรณีทางเดินรถนั้นเจ้าพนักงานกำหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว หรือกรณีต้องเข้าช่องทางให้ถูกต้องเมื่อเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก หรือกรณีเมื่อแซงรถหรือขับรถด้วยความเร็วสูงกว่ารถอื่นที่อยู่ช่องเดินรถด้านซ้ายนั้น ผู้ขับขี่จึงจะมีสิทธิขับรถในช่องทางเดินรถด้านขวาได้ นอกจากนี้ ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร หรือรถจักรยานยนต์ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุด หรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทาง แล้วแต่กรณี โดยรถบรรทุก(ที่ไม่ใช่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัมและรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน) นั้น เห็นว่ารถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร และรถจักรยานยนต์ เป็นรถที่มีความเร็วต่ำหรือต้องใช้ความระมัดระวังในการขับขี่มากกว่ารถยนต์ชนิดอื่น จึงกำหนดให้ขับเฉพาะช่องทางด้านซ้ายสุดอยู่เสมอ ทั้งนี้ กฎหมายไม่ได้ห้ามไม่ให้รถบรรทุกดังกล่าวแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น หากแต่ว่าเมื่อแซงไปในระยะที่ห่างเพียงพอแล้วก็ให้ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถตามเดิม พิเคราะห์ได้ว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้ผู้ขับขี่ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการเดินรถและไม่เป็นการกีดขวางรถคันอื่นที่จะแซงขึ้นหน้า จึงกำหนดให้ผู้ขับขี่รถทุกชนิดต้องขับรถในช่องทางด้านซ้ายสุดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะขับรถด้วยความเร็วสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม ผู้ขับขี่ก็ไม่สามารถขับรถในทางเดินรถด้านขวาสุดได้ แม้ว่าทางเดินรถนั้นได้จัดแบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไปก็ตาม เว้นแต่มีรถที่ช้ากว่าจึงจะแซงรถที่ช้ากว่าได้ แต่เมื่อแซงขึ้นหน้าได้แล้วก็ต้องขับชิดเข้ามาในช่องทางเดินรถซ้ายสุดตามเดิม ส่วนรถบรรทุกที่มีขนาดใหญ่และใช้ความเร็วได้ต่ำกว่ารถอื่น ก็ต้องขับในช่องทางซ้ายสุดอยู่เสมอ ไม่ได้ห้ามไม่ให้แซง แต่ถ้ารถบรรทุกขนาดใหญ่แซงรถอื่นในระยะห่างที่เพียงพอแล้ว ก็ต้องรีบกลับเข้าช่องทางเดินรถด้านซ้ายสุดทันที เพื่อให้รถยนต์อื่นที่ตามหลังมาและความเร็วสูงกว่ามีโอกาสได้แซงรถบรรทุกนั้นด้วย เพราะถ้าหากรถบรรทุกขับอยู่แต่ในช่องทางเดินรถด้านขวานาน ๆ ถึงแม้ว่าผู้ขับขี่จะอ้างว่ากำลังแซงรถที่มีความเร็วต่ำกว่าที่อยู่ในทางเดินรถด้านซ้ายสุดก็ตาม แต่การขับอยู่ในทางเดินรถด้านขวาตลอดเวลาก็อาจจะเป็นการกีดขวางความสะดวกรวดเร็วของรถยนต์คันอื่นที่ตามหลังมาจนไม่สามารถแซงขึ้นหน้ารถบรรทุกนั้นได้เช่นเดียวกัน