คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๑๑๗/๒๕๕๔
ป.อ. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (มาตรา ๒๙๑)
จําเลยขับรถยนต์บรรทุก ๑๐ ล้อ มาในช่องเดินรถของตน และผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ออกจากร้านค้าซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามเข้ามาในช่องเดินรถของจําเลย
เมื่อพิจารณาแผนที่กับภาพถ่ายปรากฏว่าบริเวณที่เกิดเหตุ มีร่องรอยการห้ามล้อของรถยนต์ที่จําเลยขับเป็นแนวเบี่ยงไปทางซ้ายโดยรอยห้ามล้อดังกล่าวยาวประมาณ ๑๐ เมตร
สอดคล้องกับที่จำเลยเบิกความว่า ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ออกจากร้านค้าพุ่งเข้ามาในช่องเดินรถของจําเลยแล้วชนถังน้ำมันด้านขวาของรถยนต์ที่จำเลยขับล้มลง ล้อหลังด้านขวาจึงทับผู้ตาย นับแต่เห็นผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ส่ายไปมา จำเลยได้ห้ามล้อรถและหักพวงมาลัย ไปทางซ้าย จนล้อรถเบียดขอบทางเท้า
จึงน่าเชื่อว่า จําเลยเห็นผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ออกจากร้านค้าในระยะประมาณ ๑๐ เมตร อันเป็นระยะที่กระชั้นชิด ตามวิสัยและพฤติการณ์ของขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อมาในช่องทางตรง ย่อมเป็นการยากที่จะหลีกเลี่ยงการเฉี่ยวชนได้ การที่จำเลยห้ามล้อและหักหลบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับเข้ามาชนรถยนต์ที่จําเลยขับทางด้านข้างนั้น นับว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์
การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ออกจากร้านค้าซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามเข้ามาเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่จําเลยขับและรถจักรยานยนต์เสียหลักล้มลงเข้าใต้รถยนต์บรรทุก ๑๐ ล้อ จึงถูกทับถึงแก่ความตาย มิใช่การกระทําโดยประมาทของจําเลย
✩ กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง คำพิพากษาและความรู้เรื่องการจราจรทางบก ✩ความถูกต้องเป็นไปตามวันที่เขียนบทความและอัพเดท✩
วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
ริบรถที่ขับโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยผู้อื่น
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 6733/2554
ป.อ. ขอคืนของกลาง (มาตรา 36)
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําเลยสามสิบเก้าคน ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๘), ๑๖๐ วรรคสาม, ๑๖๒ และริบรถยนต์ของกลาง
แม้ผู้ร้องให้จําเลยที่ ๓๕ ซึ่งเป็นญาติยืมรถยนต์ของกลางไปอันเป็นเรื่องปกติวิสัยของญาติที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันก็ตาม แต่ก็ได้ความจากผู้ร้องและจำเลยที่ ๓๕ ว่าจําเลยที่ ๓๕ เคยยืมรถยนต์ของกลางไปใช้เป็นประจํา และผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านว่า วันเกิดเหตุจําเลยที่ ๓๕ ไม่ได้บอกว่าจะนํารถยนต์ของกลางมาคืนเมื่อใด ประกอบกับตามบันทึกการจับกุมระบุว่า เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑ นาฬิกา
จึงพออนุมานได้ว่า ผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการใช้รถยนต์ของกลางที่จําเลยที่ ๓๕ ยืมไปเท่าใดนัก พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จําเลยที่ ๓๕ นํารถยนต์ของกลางไปใช้ได้ทุกสถานที่โดยไม่ขัดขวาง ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ ๓๕ นํารถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทําความผิดเกี่ยวกับการขับรถโดยไม่คํานึงความเดือดร้อนของผู้อื่น ย่อมถือได้ว่า ผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทําความผิดของจําเลยที่ ๓๕
ป.อ. ขอคืนของกลาง (มาตรา 36)
คดีสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําเลยสามสิบเก้าคน ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ (๘), ๑๖๐ วรรคสาม, ๑๖๒ และริบรถยนต์ของกลาง
แม้ผู้ร้องให้จําเลยที่ ๓๕ ซึ่งเป็นญาติยืมรถยนต์ของกลางไปอันเป็นเรื่องปกติวิสัยของญาติที่จะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันก็ตาม แต่ก็ได้ความจากผู้ร้องและจำเลยที่ ๓๕ ว่าจําเลยที่ ๓๕ เคยยืมรถยนต์ของกลางไปใช้เป็นประจํา และผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านว่า วันเกิดเหตุจําเลยที่ ๓๕ ไม่ได้บอกว่าจะนํารถยนต์ของกลางมาคืนเมื่อใด ประกอบกับตามบันทึกการจับกุมระบุว่า เหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑ นาฬิกา
จึงพออนุมานได้ว่า ผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการใช้รถยนต์ของกลางที่จําเลยที่ ๓๕ ยืมไปเท่าใดนัก พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้จําเลยที่ ๓๕ นํารถยนต์ของกลางไปใช้ได้ทุกสถานที่โดยไม่ขัดขวาง ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ ๓๕ นํารถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทําความผิดเกี่ยวกับการขับรถโดยไม่คํานึงความเดือดร้อนของผู้อื่น ย่อมถือได้ว่า ผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทําความผิดของจําเลยที่ ๓๕
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)